"โครงของชุดประยุกต์มาจากเครื่องแต่งกายของสตรีสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งประกอบไปด้วย โจงกระเบนผ้าไหมไทยสีเทาเงิน สไบเฉียงสีแดง ถุงน่อง ส่วนตัวเสื้อจะเป็นเสื้อแขนยาว ต้นแขนด้านขวาพองลักษณะคล้ายหูช้าง ส่วนด้านซ้ายถือพัดโบกเปรียบเสมือนหูช้างอีกข้าง ซึ่งความหมายโดยนัยของพัด คือการปัดเป่าทุกข์ภัย นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขและสันติภาพ ในขณะที่ทรงผมออกแบบมาในลักษณะของงวงช้าง” นายพลิน กล่าว
ด้าน อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านงานศิลปะไทย หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า การเลือกผลงานที่จะนำมาตัดเย็บเป็นชุดประจำชาติในปีนี้ค่อนข้างลำบากใจมาก เพราะโดดเด่นใกล้เคียงกันหลายผลงาน โดยประเด็นหลักที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกนอกเหนือจากดีไซน์และแนวคิดที่สื่อความหมายถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบุคลิกของผู้สวมใส่ นั่นคือ น.ส.ฝนทิพย์ ด้วย
“สำหรับชุดที่ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการทุกท่าน สิ่งที่โดดเด่นของผลงานนี้คือการนำเอาบุคลิกของความเป็นช้าง มาถ่ายทอดในรูปแบบของแฟชั่นดีไซน์ได้อย่างร่วมสมัย มีความเป็นสากล สง่างาม และยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของศิลปะไทยอย่างชัดเจน ชุดนี้น่าจะดึงบุคลิกของมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สให้ดูโดดเด่นบนเวทีการประกวดนางงามจักรวาล 2010 ได้อย่างแน่นอน” อาจารย์ปัญญา กล่าว
ส่วน นางนงนารถ จิรกิติ แห่งห้องเสื้อโนริโกะ หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน และเป็นผู้ดำเนินการตัดเย็บชุดประจำชาติในปีนี้กล่าวว่า เท่าที่ได้เห็นผลงานทั้งหมดในภาพรวมของปีนี้มีคุณภาพที่ดีขึ้น แต่ละดีไซน์ดูสวยงามมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งผลงานที่ชนะเลิศควรมีความโดดเด่นฉีกแนวจาก 2 ปีที่ผ่านมา และผลงานที่ชนะเลิศสามารถตอบโจทย์ของเราได้ทั้งหมด มีความกลมกลืนในทุกๆ ด้าน สวยงาม สง่า อ่อนช้อย ที่สำคัญสามารถออกแบบมาได้ค่อนข้างสมบูรณ์ แทบจะไม่ต้องเพิ่มเติมรายละเอียดอะไรลงไปในเนื้องานเลย
สำหรับผลงาน “สยามไอยรา” จะนำไปตัดเย็บเป็นชุดประจำชาติสำหรับ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สประจำปี 2553 สวมใส่ขึ้นเวทีการประกวดนางงามจักรวาล 2010 ที่ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนสิงหาคมนี้ และหากชุดดังกล่าวได้รับการคัดเลือกเป็นชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ช่อง 7 สี จะมอบเงินรางวัลพิเศษ 3 หมื่นบาท ให้แก่ผู้ออกแบบอีกด้วย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น